วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผ้าไทยภาคใต้

0
ในภาคใต้ ลักษณะเป็นผ้ายก แบบหลายตะกอ เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าเกาะยอ และผ้าพุมเรียง ลักษณะลวดลายมีทั้งเป็นลายดอกเล็กๆ พรมไปทั้งผืน หรือยกลายเน้นเชิง เดิมนั้นเข้าใจว่าเป็นผ้าไหมเป็นส่วนมาก มีหลักฐานการส่งผ้าจากภาคใต้มายังพระราชสำนักในกรุงเทพฯ เมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งจากเมืองนครศรีธรรมราช และจากหัวเมืองทางใต้อื่นๆ เช่น ปัตตานี เป็นต้น จึงเชื่อกันว่า ผ้ายกของภาคใต้นั้นน่าจะได้รับอิทธิพลจากแถบมลายู ปัจจุบัน ยังคงเหลือผ้ายกของชาวพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่ยังทอผ้าไหม



เมืองนครศรีธรรมราชมีผ้าทอพื้นเมืองเป็นสินค้ามีชื่อ
รู้จักกันดีทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองภาคใต้แต่โบราณมา ในนาม
ของผ้ายกเมืองนคร
ตามประวัติที่บอกเล่ากันต่อมาว่า เจ้าเมืองนครฯได้ช่าง
ทอผ้าจากเมืองไทรบุรีมาเป็นครูสอนวิธีการทอยกดอกจาก
ที่เคยทอพื้นเรียบแบบดั้งเดิม
ผ้ายกเมืองนครมีทั้งผ้ายกทอง ผ้ายกไหม เป็นของทำ
ใช้เฉพาะคนชั้นสูงและข้าราชการ กรมการเมือง คนธรรมดา
ใช้ผ้ายกฝ้ายกันทั่วไป ความนิยมเช่นนี้คงมีไปถึงหัวเมืองอื่นๆ
ด้วยดังที่ในวรรณคดีขุนช้าง ขุนแผน พรรณนาขุนช้าง
เศรษฐีเมืองสุพรรณแต่งกายไปงานว่า

คิดแล้วอาบน้ำนุ่งผ้า ยกทองของพระยาลครให้
ห่มส่านปักทองเยื้องย่องไป บ่าวไพร่ตามหลังสะพรั่งมา

ปัจจุบันยังมีผ้ายกเมืองนครชิ้นสวยงามอย่างโบราณของ
แท้เป็นของถวายไว้เป็นพุทธบูชาเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์
วัดพระมหาธาตุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
และยังมีผู้สืบทอดการทอผ้ายกเมืองนครไว้ได้บ้างรวมทั้งส่งเสริม
ให้นำไปสอนเป็นวิชาชีพแก่สตรีผู้ต้องโทษในทัณฑสถานด้วย



ผ้าจวนปัตตานี หรือผ้ายกตานี
เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี และจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือมีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ริมผ้า บางครั้งจึงเรียกว่า "ผ้าล่องจวน" ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่า ๆ เรียกผ้าดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึงลวดลายที่ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็นร่องริ้วก็เรียกว่า "ล่องจูวา" ลายของจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มตลอดทั้งผืน เรียกกันว่า "ผ้าลีมา" จัดเป็นผ้าชั้นสูงต้องใช้ความประณีตและราคาแพงสำหรับกรณีที่เอาลายจูวาไปทำเป็นลายผ้า
ที่มา http://www.krungsri.com/KrungsriDocumentlary/text06-july45.htm

No Response to "ผ้าไทยภาคใต้"

แสดงความคิดเห็น

เพลงผ้า

Calender