การทอผ้าอีสานแบบครบวงจร
เริ่มต้นตามขั้นตอน คือ ชาวอีสานจะปลูกฝ้ายในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ฝ้ายที่นิยมปลูกเรียกว่าฝ้ายนอนพอถึงเดือนพฤศจิกายนฝ้ายแก่ก็เก็บได้เวลาเก็บฝ้ายชาวบ้านเก็บเอาปุยฝ้ายที่มีเมล็ดติดมาส่วนฝักฝ้ายทิ้งให้แห้งคาต้น ฝ้ายที่เก็บมานั้นเอามาผึ่งแดงสี่ห้าวัน แล้วจึงเอาปุยฝ้ายอิ้วเรียกว่าหีบฝ้ายเสร็จแล้เอาฝ้ายใส่กระด้ง เอาสายดีดมาดีดฝ้าย สายดีดที่ใช้รูปร่างเหมือนธนูมีคันสาย เมือดีดฝ้ายจนแตกปุยแล้วจึงม้วนฝ้าย วิธีม้วยฝ้ายต้องแผ่ให้แบน ๆ ใช้ไม้กลมๆ อันหนึ่งใส่ตรง กลางฝ้าย แล้วม้วนฝ้ายให้กลมคล้ายมวนบุหรี่ เสร็จแล้วชักเอาไม้ออกแล้วจึงไปเข็นให้เป็นเส้น การเข็นฝ้ายหรือปั่นฝ้ายนั้นมือหนึ่งจับกง ไนหมุน มือที่ถือฝ้ายก็ดึงเอาฝ้ายออกไปฝ้ายนั้นก็เป็นเส้นติดอยู่กับเหล็กใน เมื่อจะเอาฝ้ายออกจากเหล็กในต้องเอามาเปีย เอาฝ้ายนั้นหมุน เปียไปรอบ ๆ เมื่อปลดออกจากเปียแล้วจึงเอาฝ้ายไปย้อมเมื่อย้อมเสร็จก็เอาเข้ากงเพื่อกวัก กวักนั้นมีรูปร่างคล้ายตะกร้อยาวประมาณ หนึ่งฟุต เมื่อกวักเสร็จก็เอาไปคัน แล้วจึงนำฝ้ายไปทอเป็นผ้าต่อไปผ้าฝ้าย
การทอผ้าไหมเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนการทอไหมแบบครบวงจรชาวอีสาน จะเริ่มตั้งแต่ปลูกต้นหม่อนไว้สำหรับเลี้ยงใหมเพื่อจะใช้ใยไหมทอผ้า ขั้นตอนที่สำคัญมีดังนี้คือ
1. การเลี้ยงไหม เดิมทีนั้นไหมที่เลี้ยงเป็นพันธุ์พื้นเมืองเรียกว่า ไหมน้อยปัจจุบันเป็นพันธุ์ผสม ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์ต่างประเทศ เช่น พันธุ์ดอกบัวและพันธุ์นิสชิน การเลี้ยงเริ่มต้นจากการนำไข่ไหมมาเลี้ยงให้เป็นตัวหนอน โดยใช้ใบหม่อนอ่อน ๆ หั่นเป็นฝอยให้เป็น อาหารวันละ สองครั้ง ไหมจะเติบโตจากวัยหนึ่งไปจนถึงวัยสิ่งวงจรชีวิตใหมจะสิ้นสุดลง
2. การสาวไหม หลังจากที่ไหมแก่แล้ว ไหมจะชักใยผู้เลี้ยงต้องเก็บรังไหมออกมาทำความสะอาด โดยการดึงเส้นใยหรือสิ่งสกปรกออกแล้วนำไปสาวไหม โดยนำรังไหมไปต้มในน้ำร้อนเพื่อให้เส้นจะใหญ่เนื้อหยาบสีเหลืองอมสัม เมื่อสาวไหมไปเรื่อยๆ
รังไหมจะ สีจองลง จึงตัดไหมมาพักไว้ เมื่อพักไหมไว้แล้วนำมาสาวไหม่ จะได้เส้นใยใหลืองอ่อน นุ่มเป็นมันวาวเรียกว่าไหมน้อยซึ่งเป็นส่วนที่ดีที่ สุดกระด้างไม่อ่อนตัว ต้งอนำไปทำให้อ่อนตัวโดยวิธีเหล่งไหม ต่องไหม กวักไหม คันไหม ย้อมไหม สืบหุกและคันหุกแล้วจึงนำไปทอ
ที่มา http://multimedia.udru.ac.th/otop50/shadow/his_esan.php
No Response to "ผ้าไทยภาคอีสาน"
แสดงความคิดเห็น