วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผ้าไทยภาคอีสาน

0
การทอผ้าอีสานแบบครบวงจร


เริ่มต้นตามขั้นตอน คือ ชาวอีสานจะปลูกฝ้ายในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ฝ้ายที่นิยมปลูกเรียกว่าฝ้ายนอนพอถึงเดือนพฤศจิกายนฝ้ายแก่ก็เก็บได้เวลาเก็บฝ้ายชาวบ้านเก็บเอาปุยฝ้ายที่มีเมล็ดติดมาส่วนฝักฝ้ายทิ้งให้แห้งคาต้น ฝ้ายที่เก็บมานั้นเอามาผึ่งแดงสี่ห้าวัน แล้วจึงเอาปุยฝ้ายอิ้วเรียกว่าหีบฝ้ายเสร็จแล้เอาฝ้ายใส่กระด้ง เอาสายดีดมาดีดฝ้าย สายดีดที่ใช้รูปร่างเหมือนธนูมีคันสาย เมือดีดฝ้ายจนแตกปุยแล้วจึงม้วนฝ้าย วิธีม้วยฝ้ายต้องแผ่ให้แบน ๆ ใช้ไม้กลมๆ อันหนึ่งใส่ตรง กลางฝ้าย แล้วม้วนฝ้ายให้กลมคล้ายมวนบุหรี่ เสร็จแล้วชักเอาไม้ออกแล้วจึงไปเข็นให้เป็นเส้น การเข็นฝ้ายหรือปั่นฝ้ายนั้นมือหนึ่งจับกง ไนหมุน มือที่ถือฝ้ายก็ดึงเอาฝ้ายออกไปฝ้ายนั้นก็เป็นเส้นติดอยู่กับเหล็กใน เมื่อจะเอาฝ้ายออกจากเหล็กในต้องเอามาเปีย เอาฝ้ายนั้นหมุน เปียไปรอบ ๆ เมื่อปลดออกจากเปียแล้วจึงเอาฝ้ายไปย้อมเมื่อย้อมเสร็จก็เอาเข้ากงเพื่อกวัก กวักนั้นมีรูปร่างคล้ายตะกร้อยาวประมาณ หนึ่งฟุต เมื่อกวักเสร็จก็เอาไปคัน แล้วจึงนำฝ้ายไปทอเป็นผ้าต่อไปผ้าฝ้าย

การทอผ้าไหมเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนการทอไหมแบบครบวงจรชาวอีสาน จะเริ่มตั้งแต่ปลูกต้นหม่อนไว้สำหรับเลี้ยงใหมเพื่อจะใช้ใยไหมทอผ้า ขั้นตอนที่สำคัญมีดังนี้คือ
1. การเลี้ยงไหม เดิมทีนั้นไหมที่เลี้ยงเป็นพันธุ์พื้นเมืองเรียกว่า ไหมน้อยปัจจุบันเป็นพันธุ์ผสม ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์ต่างประเทศ เช่น พันธุ์ดอกบัวและพันธุ์นิสชิน การเลี้ยงเริ่มต้นจากการนำไข่ไหมมาเลี้ยงให้เป็นตัวหนอน โดยใช้ใบหม่อนอ่อน ๆ หั่นเป็นฝอยให้เป็น อาหารวันละ สองครั้ง ไหมจะเติบโตจากวัยหนึ่งไปจนถึงวัยสิ่งวงจรชีวิตใหมจะสิ้นสุดลง



2. การสาวไหม หลังจากที่ไหมแก่แล้ว ไหมจะชักใยผู้เลี้ยงต้องเก็บรังไหมออกมาทำความสะอาด โดยการดึงเส้นใยหรือสิ่งสกปรกออกแล้วนำไปสาวไหม โดยนำรังไหมไปต้มในน้ำร้อนเพื่อให้เส้นจะใหญ่เนื้อหยาบสีเหลืองอมสัม เมื่อสาวไหมไปเรื่อยๆ
รังไหมจะ สีจองลง จึงตัดไหมมาพักไว้ เมื่อพักไหมไว้แล้วนำมาสาวไหม่ จะได้เส้นใยใหลืองอ่อน นุ่มเป็นมันวาวเรียกว่าไหมน้อยซึ่งเป็นส่วนที่ดีที่ สุดกระด้างไม่อ่อนตัว ต้งอนำไปทำให้อ่อนตัวโดยวิธีเหล่งไหม ต่องไหม กวักไหม คันไหม ย้อมไหม สืบหุกและคันหุกแล้วจึงนำไปทอ

ที่มา http://multimedia.udru.ac.th/otop50/shadow/his_esan.php

ผ้าไทยภาคใต้

0
ในภาคใต้ ลักษณะเป็นผ้ายก แบบหลายตะกอ เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าเกาะยอ และผ้าพุมเรียง ลักษณะลวดลายมีทั้งเป็นลายดอกเล็กๆ พรมไปทั้งผืน หรือยกลายเน้นเชิง เดิมนั้นเข้าใจว่าเป็นผ้าไหมเป็นส่วนมาก มีหลักฐานการส่งผ้าจากภาคใต้มายังพระราชสำนักในกรุงเทพฯ เมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งจากเมืองนครศรีธรรมราช และจากหัวเมืองทางใต้อื่นๆ เช่น ปัตตานี เป็นต้น จึงเชื่อกันว่า ผ้ายกของภาคใต้นั้นน่าจะได้รับอิทธิพลจากแถบมลายู ปัจจุบัน ยังคงเหลือผ้ายกของชาวพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่ยังทอผ้าไหม



เมืองนครศรีธรรมราชมีผ้าทอพื้นเมืองเป็นสินค้ามีชื่อ
รู้จักกันดีทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองภาคใต้แต่โบราณมา ในนาม
ของผ้ายกเมืองนคร
ตามประวัติที่บอกเล่ากันต่อมาว่า เจ้าเมืองนครฯได้ช่าง
ทอผ้าจากเมืองไทรบุรีมาเป็นครูสอนวิธีการทอยกดอกจาก
ที่เคยทอพื้นเรียบแบบดั้งเดิม
ผ้ายกเมืองนครมีทั้งผ้ายกทอง ผ้ายกไหม เป็นของทำ
ใช้เฉพาะคนชั้นสูงและข้าราชการ กรมการเมือง คนธรรมดา
ใช้ผ้ายกฝ้ายกันทั่วไป ความนิยมเช่นนี้คงมีไปถึงหัวเมืองอื่นๆ
ด้วยดังที่ในวรรณคดีขุนช้าง ขุนแผน พรรณนาขุนช้าง
เศรษฐีเมืองสุพรรณแต่งกายไปงานว่า

คิดแล้วอาบน้ำนุ่งผ้า ยกทองของพระยาลครให้
ห่มส่านปักทองเยื้องย่องไป บ่าวไพร่ตามหลังสะพรั่งมา

ปัจจุบันยังมีผ้ายกเมืองนครชิ้นสวยงามอย่างโบราณของ
แท้เป็นของถวายไว้เป็นพุทธบูชาเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์
วัดพระมหาธาตุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
และยังมีผู้สืบทอดการทอผ้ายกเมืองนครไว้ได้บ้างรวมทั้งส่งเสริม
ให้นำไปสอนเป็นวิชาชีพแก่สตรีผู้ต้องโทษในทัณฑสถานด้วย



ผ้าจวนปัตตานี หรือผ้ายกตานี
เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี และจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือมีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ริมผ้า บางครั้งจึงเรียกว่า "ผ้าล่องจวน" ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่า ๆ เรียกผ้าดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึงลวดลายที่ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็นร่องริ้วก็เรียกว่า "ล่องจูวา" ลายของจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มตลอดทั้งผืน เรียกกันว่า "ผ้าลีมา" จัดเป็นผ้าชั้นสูงต้องใช้ความประณีตและราคาแพงสำหรับกรณีที่เอาลายจูวาไปทำเป็นลายผ้า
ที่มา http://www.krungsri.com/KrungsriDocumentlary/text06-july45.htm

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผ้าไทย ภาคเหนือ

0



ผ้าฝ้ายลายปลาเสือตอ (นครสวรรค์)

ราษฎรบางส่วนอพยพมาจากภาคอีสาน เมื่อมาตั้งรกรากที่กิ่งอำเภอแม่เปิน ได้นำความรู้เรื่องการทอผ้า ย้อมสีธรรมชาติมาเผยแพร่ มีลวดลายต่างๆ อาทิ ลายปลาเสือตอ ลายพื้นบ้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการทอผ้าพื้นเมืองโปร่งเขนง ซึ่งมีทั้งผ้าป่าแดงและผ้ามัดหมี่ที่บ้านปากดง ตำบลด่านช้าง อำเภอบรรพตพิสัยอีกด้วย
ผ้าตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ (จ.เชียงใหม่)

ตำบลบ้านจันทร์และตำบลแจ่มหลวง ทอผ้าพื้นเมืองกะเหรี่ยง มีลวดลายต่างๆ เช่น ลายพื้นเมืองของชนเผ่าปกะญอ และผ้าปักลูกเดือย
นอกจากนี้ ยังมีตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด บ้านดอนเปา อำเภอแม่วาง และตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อยทอผ้าตีนจก ผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ ผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าปัก ซึ่งมีลวดลายต่าง ๆ อาทิ ลายดี (ดอกแก้ว) ลายแซง ลายพื้นบ้าน ชาวไทยกะเหรี่ยง ลายโบราณ (ลายก้างปลา) ลายขันเสี้ยมส้ม ลายโบราณ ลายดอกรัก เป็นต้น


ผ้าตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ (จ.เชียงใหม่)

ตำบลบ้านจันทร์และตำบลแจ่มหลวง ทอผ้าพื้นเมืองกะเหรี่ยง มีลวดลายต่างๆ เช่น ลายพื้นเมืองของชนเผ่าปกะญอ และผ้าปักลูกเดือย
นอกจากนี้ ยังมีตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด บ้านดอนเปา อำเภอแม่วาง และตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อยทอผ้าตีนจก ผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติ ผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าปัก ซึ่งมีลวดลายต่าง ๆ อาทิ ลายดี (ดอกแก้ว) ลายแซง ลายพื้นบ้าน ชาวไทยกะเหรี่ยง ลายโบราณ (ลายก้างปลา) ลายขันเสี้ยมส้ม ลายโบราณ ลายดอกรัก เป็นต้น




ที่มา : http://diamond-d.exteen.com/20090530/entry-13

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผ้าไทยภาคกลาง

0
ในภาคกลาง ไม่ปรากฏร่องรอยที่ชัดเจนของกลุ่มช่างทอผ้าในอดีต แม้จะมีการปลูกฝ้ายกันมากก็ตาม ในภายหลังมีการอพยพชาวบ้านจากหัวเมืองล้านนา จากฝั่งลาวลงมา

ชาวลาวเวียง แถบอุทัยธานีและชัยนาท นิยมทอผ้าจกไหม


ชาวไทยยวน แถบสระบุรีและราชบุรี ทอผ้าซิ่น มัดก่าน ตีนจก และยกมุก
ผ้าจก เป็นผ้าทอผืนแคบ หน้ากว้างประมาณ ๑ ศอก ทอด้วยฝ้าย หรือไหมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทอผสมกันทั้งสองอย่าง เป็นผ้าทอพื้นบ้าน ที่มีความประณีตงดงาม และใช้เวลาในการทอมาก
คำว่า “จก” หมายถึง การล้วง ควัก หรือดึง เป็นกรรมวิธีในการทำให้เกิดลวดลาย บนผ้าทอชนิดนี้ ใช้ประกอบตกแต่งกับผ้าชนิดอื่น เช่น นิยมใช้ต่อเชิงผ้าซิ่น เรียกว่า “ผ้าซิ่นตีนจก”

ชาวไทยพวน แถบลพบุรี นิยมทอผ้ามัดหมี่
การทอผ้าไหมมัดหมี่ จะต่างไปจากการทอผ้าไหมชนิดอื่นๆ คือจะนำเอาเส้นไหมมามัด ให้เป็นลวดลายตามต้องการก่อน จึงจะนำไปย้อมสี แต่ก่อนจะนำไปย้อมสี การทอผ้าไหมทุกชนิด จะต้องผ่านกระบวนการเดียวกัน การมัดไหม ให้เป็นลวดลาย เรียกว่า “มัดหมี่” มีวิธีการคือ เอาเชือก หรือฟางมามัดเส้นไหม ที่พันอยู่กับหลักหมี่ ให้เป็นลวดลายตามต้องการ แล้วนำเส้นไหมที่มัดแล้วนี้ไปย้อมสี แล้วนำมามัดแล้วย้อมอีก เพื่อให้เกิดลวดลาย และสีสันที่ต้องการบนผืนผ้า เมื่อย้อมเสร็จแก้เชือกที่มัดออก นำเส้นไหมมากรอเข้าหลอด เวลาทอก็เอาหลอดที่กรอไว้พุ่งไป ก็จะได้ลายไปในตัว เวลากรอเส้นไหมเข้าหลอด จะต้องระมัดระวังลำดับให้ถูก ไม่เช่นนั้นเมื่อทอออกมาลายที่ปรากฏ จะไม่สวยงามตามที่ตั้งใจ อาจจะเขย่งสูงบ้างต่ำบ้าง มีรอยต่อลายเห็นชัด หรือกลายเป็นลายอื่น ที่ไม่ได้ตั้งใจมัดไปเลยก็ได้ ส่วนเส้นยืนซึ่งจะเป็นความยาวของผ้านั้น เมือฟอกไหมแล้ว ก็นำไปย้อมสีตามต้องการ และนำไปทอได้เลย

ชาวไทยดำ แถบเพชรบุรี นิยมทอผ้าพื้น หรือผ้าซิ่นลายแตงโม
ชาวกรุงเทพมหานครนั้น ยังมีชาวมุสลิม ที่เรียกว่าแขกจาม ทอผ้าไหม จนถึงทุกวันนี้


ที่มา http://www.thailife.com/thaiwisdom/poompandin/book5/images/page45_47.pdf

4 Region Thai fabrics. ผ้าไทย 4 ภาค

0
ผ้าไทย คือผ้าทอมือที่มีการผลิตในประเทศไทย

โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ประวัติผ้าไทยไม่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก เนื่องจากมีการให้ความสำคัญในด้านอื่นๆ มากกว่า แต่เราพอจะสืบหาประวัติของผ้าไทยในสมัยก่อนได้บ้างจากวรรณคดี จิตรกรรมฝาผนัง และมรดกศิลปะที่คงเหลืออยู่ในบางท้องถิ่น

ปูชนียบุคคลผู้พัฒนาวงการผ้าไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
จิม ทอมป์สัน
แสงดา บัณสิทธิ์
สาธร โรสัจประสพสันติ
อุดม สมพร
เผ่าทอง ทองเจือ

เพลงผ้า

Calender